E-commerce


ขั้นตอนการเข้าสู่ธุรกิจ e-Commerce 5 ขั้นตอน


ขั้นตอนทั้ง 5 นี้ ทำให้รู้ว่าจะพัฒนา e-Commerce .. อย่างไร
1.ขั้นตอน 1 - สำรวจโอกาสทางการตลาดด้วยระบบค้นหาข้อมูล (Market Search)
2.ขั้นตอน 2 - วางแผนการตลาด และพัฒนาเว็บเพจ (Planning and Development)
3.ขั้นตอน 3 - นำเว็บเพจเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และจัดตั้งเว็บไซต์ (Install)
4.ขั้นตอน 4 - โฆษณา และประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ (Promotion)
5.ขั้นตอน 5 - ติดตามผล ปรับปรุง และบำรุงรักษา (Evaluation and Maintainance)

ลักษณะพิเศษของการทำการค้าบนเว็บ : ไม่มีพรมแดน, ตัวต่อตัว, ตัดสินใจจากข้อมูล, กิจกรรมผสม, ไปถึงคนทั่วโลก, โต้ตอบทันควัน, ทำได้ 24 ชั่วโมง



แหล่งที่มา

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

E-commerce


e-Commerce ทำอย่างไร


บริการตั้งร้านค้า ในอินเทอร์เน็ต
พื้นที่ตั้งร้านบน net ฟรี จาก free hosting แสดงสินค้า แล้วให้ลูกค้า มาติดต่อขอซื้อมา
พื้นที่ตั้งร้านบน net ฟรี จาก free hosting ที่บริการ e-Commerce พร้อม shopping cart
พื้นที่แบบเสียเงิน แต่ไม่รับชำระผ่านระบบบัตรเครดิต เนื่องจากยุ่งยาก และมีเรื่องค่าใช้จ่ายเข้ามา
พื้นที่แบบเสียเงิน พร้อมเข้าระบบรับชำระผ่านบัตรเครดิตที่สมบูรณ์ เพราะหวังขายได้มาก ๆ เปิดช่องทางกว้างขึ้น


เรื่องน่าคิดอื่น ๆ ก่อนทำ e-Commerce
1.ขายอะไร (ผมเองก็ติดปัญหาเรื่องนี้ เพราะไม่รู้จะขายอะไร ที่เหมาะสมกับตัวที่สุด .. จึงยังไม่ขาย) ธุรกิจที่น่าสนใจในปัจจุบัน เช่น ดอกไม้, Hand-make, หนังสือ, CDเพลง, โปรแกรม, ให้เช่า server, รับโฆษณา หรือเข้าไปดูที่ shoppingthai.com ก็ได้ครับ
2.จุด Domain Name และจดกับใคร
1. จด .com หรือ .net หรือ .co.th
2. จดกับผู้ให้บริการจดชาวไทย หรือชาวต่างชาติดี

3.เป็น SME (Small and Medium Enterprises) เพื่อรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และจะตั้งเป็นบริษัท หรือไม่
4.ระบบ stock เป็นอย่างไร เช่นฝากสินค้า หรือขนถ่ายสินค้าสะดวกไห
5.ภาษีคิดอย่างไร ทั้งในและต่างประเทศ
6.ระบบเงินตราที่ขายสินค้าเป็นบาท dollar หรือบาท
7.ราคาขาย เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องกำหนดให้เหมาะสม ไม่ถูกหรือแพงเกินไป และต้องมีเหตุผล อธิบายเสมอ
8.ทำเอง หรือให้ผู้เชี่ยวชาญที่เขาให้บริการ ครบวงจร
9.การขนส่งคิดค่าใช้จ่ายอย่างไร (ตามน้ำหนัก ตามระยะทาง ตามมูลค่า หรือตามขนาด)
10.ความปลอดภัย (ถ้าไม่รับเรื่องบัตรเครดิต หรือไม่ serius เรื่องความลับก็ไม่ต้องสนใจก็ได้ครับ)
1. SSL (Secure Socket Layer) จะเข้ารหัสก่อนส่ง ไปให้ผู้บริการ เป็นระบบที่นิยมกันมาก และใช้ key เฉพาะจากผู้ส่งเท่านั้น แต่มีจุดบกพร่อมของระบบที่ ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสแล้ว เมื่อส่งไปยังปลายทางจะถูกถอดรหัส เป็นเลขบัตรเครดิตให้เห็น ซึ่งอาจถูก hack ข้อมูลไปได้
2. SET (Secure Electronic Transactions) เป็นระบบที่ปลอดภัยมาก เพราะผู้ซื้อ และผู้ขาย ต่างก็มีรหัสที่ต้องขอจากหน่วยงานกลาง เพื่อยืนยันการทำธุรกรรม (Certification Autority : CA) ร้านค้าจะได้รับเฉพาะข้อมูลการสั่งซื้อ ส่วนรหัสบัตร ร้านค้าจะไม่ทราบ แต่จะส่งไปให้ธนาคารโดยตรง (ปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายของระบบนี้ยังสูงอยู่)

11.เลือกรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ท่านอาจทำทุกรูปแบบ หรือแบบใดแบบหนึ่ง)
รูปแบบที่ 1: B-to-B (Business to Business) เป็นการค้าระหว่างองค์กร หรือบริษัท (ปริมาณขายต่อครั้งจะมาก)
รูปแบบที่ 2: B-to-C (Business to Consumer) เป็นการค้าจากองค์กร สู่ลูกค้าบุคคล (ค้าส่งขนาดย่อม ประมาณพอประมาณ)
รูปแบบที่ 3: C-to-C (Consumer to Consumer) เป็นการค้าระหว่างบุคคล ถึง บุคคล (ค้าปลีก ปกติปริมาณขายจะน้อย)
รูปแบบที่ 4: G-to-C (Government to Consumer) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับผู้บริโภค (การให้บริการประชาชน)
รูปแบบที่ 5: G-to-B (Government to Business) เป็นการค้าระหว่างภาครัฐ กับองค์กร (ปริมาณการค้ามาก)


แหล่งที่มา

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

E-commerce


e-Commerce คืออะไร

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ECRC Thailand,1999)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (WTO,1998)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กร และส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวล และการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ (OECD,1997)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล และการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการขายสินค้า และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์, การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์, การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การจำหน่วยหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์, การประมูล, การออกแบบทางวิศวกรรมร่วมกัน, การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ, การขายตรง, การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค, อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล, บริการด้านการเงิน, บริการด้าน กฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข, การศึกษา, ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall) (European union,1997)

- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้

- Electronic commerce, commonly known as e-commerce or eCommerce, consists of the buying and selling of products or services over electronic systems such as the Internet and other computer networks. The amount of trade conducted electronically has grown dramatically since the wide introduction of the Internet. A wide variety of commerce is conducted in this way, including things such as electronic funds transfer, supply chain management, e-marketing, online marketing, online transaction processing, electronic data interchange (EDI), automated inventory management systems, and automated data collection systems. Modern electronic commerce typically uses the World Wide Web at at least some point in the transaction's lifecycle, although it can encompass a wide range of technologies such as e-mail as well.

กระบวนการพื้นฐาน (Basic Process) เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.ลูกค้า เลือกรายการสินค้า ของผู้จำหน่าย (Catalog)
2.ลูกค้า ส่งคำสั่งซื้อ ให้ผู้จำหน่าย (Order)
3.ลูกค้า ชำระเงิน ให้ผู้จำหน่าย (Payment)
4.ลูกค้า รอรับสินค้า จากผู้จำหน่าย (Shipping)

e-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน เรียบเรียงจาก e-Commerce และกลยุทธ์การทำเงิน โดย วัชระพงศ์ ยะไวทย์ สำนักพิมพ์ซีเอ็ด หน้า 20
1.ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
2.ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง
3.เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
4.ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
5.แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
6.แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย

หัวข้อให้คิด ที่ส่งผลให้การทำ e-Commerce สำเร็จ
1.สำรวจ (Research) :: สำรวจตลาดบ่อยเพียงใด เพื่อประเมินคู่แข่ง ตนเอง และลูกค้า
2.วางแผน (Planning) :: กำหนด Gantt chart เพื่อติดตั้งระบบ แผนลงทุน และแผนคืนทุน
3.เงินทุน (Loan) :: ต้องใช้เงินทุนทั้งหมดเท่าไร หาได้ที่ไหน คืนอย่างไร
4.จ่ายเงิน (Payment) :: แผนรับชำระเงิน เช่น โอนผ่านตู้เอทีเอ็ม พกง. เพย์พาล เคาน์เตอร์ธนาคาร ดร๊าฟธนาคาร บัตรเครดิต ตั๋วเงินรับ เช็คส่วนบุคคล การโอนทางโทรเลข
5.ขนส่ง (Transport) :: สินค้าจะจัดส่งให้ถึงมือลูกค้าอย่างไร เช่น Fedex, DHL, Logistic เป็นต้น
6.สินค้า (Product) :: ความน่าสนใจของสินค้า ขายแล้วจะมีคนซื้อ หรือไม่
7.ราคา (Price) :: ราคาที่จะส่งผลถึงกำไร จากการสั่งซื้อแต่ละครั้งมากพอ หรือไม่
8.สถานที่ (Place) :: ขายให้คนไทย หรือต่างชาติ ที่พักสินค้า ร้านตั้งที่ไหน
9.โฆษณา (Promotion) :: มีแผนโฆษณาอย่างไร และจะใช้วิธีการใดบ้าง
10.คลังสินค้า (Stock) :: ระบบจัดการคลังสินค้า ควบคุมอย่างไร
11.เวลา (Time) :: ประเมินระยะเวลาตั้งแต่สั่งซื้อ ส่งสินค้า และได้รับเงิน ทั้งหมดกี่วัน
12.ผิดพลาด (Error) :: ส่งไปแล้วไม่มีผู้รับ ไม่ได้รับเงิน ส่งไม่ทัน ไม่ได้มาตรฐานทำอย่างไร
13.สำนักงาน (Office) :: มีพนักงานกี่คน ลงทุนอะไรบ้าง ที่ตั้งสำนักงาน และแหล่งสินค้า
14.หีบห่อ (Package) :: คำสั่งซื้อจะมาพร้อมรูปแบบสินค้า และลักษณะหีบห่อ ยืดหยุ่นหรือไม่
15.เทคนิค (Technique) :: รายละเอียดของระบบที่ใช้ เพื่อให้เกิดการซื้อขายได้ เป็นแบบใด
16.ออกแบบ (Design) :: ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือหน้าร้านได้น่าสนใจหรือไม่
17.ความปลอดภัย (Security) :: ทุกระบบต้องรองรับการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีได้ทุกรูปแบบ
18.ขนาด (Size) :: ขนาดระบบ เช่น รองรับจำนวนลูกค้า การสั่งซื้อ หรือสินค้าได้เพียงใด
19.การควบคุม (Controlling) :: การควบคุมกระบวนการทั้งหมด ให้ดำเนินไปอย่างถูกต้อง
20.สำรอง (Backup) :: แผนสำรองข้อมูล ในกรณีที่ระบบล้ม หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ยกเลิก
21.ภาษี (Tax) :: เข้าใจกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ ในประเทศ และกฎหมายด้าน IT


แหล่งที่มา

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ข้อมูลงานอดิเรก


งานอดิเรก -อ่านหนังสือ -อ่านข่าวดารา -ฟังเพลง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ข้อมูลการศึกษา


การศึกษา ประถมศึกษา ร.ร.บ้านแห่ง มัธยมต้น ร.ร.ชุมแพศึกษา มัธยมปลาย ร.ร.ชุมแพศึกษา ปัจจุบันเรียนที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ข้อมูลส่วนตัว



ชื่อ นายอรรถพร เลไทย ชื่อเล่น ป๊อปปี้ ที่อยู่ 42 ม.2 บ.มาลา ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น 40130 pop_lethai@hotmail.com

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

วันครูแห่งชาติ


วันครูแห่งชาติ



ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

การจัดงานวันครู
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา 2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ 3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์

มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ 2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น 3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้ 4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู 5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา 6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ 7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน 8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ 9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา 10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครูข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/kartai/2009/01/11/entry-1

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

อยากได้ยินว่ารักกัน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

อยากได้ยินว่ารักกัน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS



วันปีใหม่
ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่
ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า " ปี" ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March) แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ที่มา: http://www.google.co.th/search?hl=th&rlz=1R2SKPB_enTH328&ei=BrRWS6mlCoqUkAXjz8DwBA&sa=X&oi=spell&resnum=1&ct=result&cd=1&ved=0CCoQBSgA&q=%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E&spell=1

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

การประกอบอาชีพทางภาคเหนือ


ชาวเหนือส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ทำไร่ การทำนาส่วนใหญ่จะเป็นนาดำ ที่ลุ่มมาก ๆ จึงทำนาหว่าน คนเหนือปลูกข้าวเหนียวกันเป็นส่วนใหญ่ เพราะบริโภคข้าวเหนียว ข้าวเหนียวภาคเหนือถือเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี นึ่งสุกแล้วขาวสะอาด อ่อนและนิ่มน่ารับประทาน ข้าวพันธ์ที่มีชื่อเสียง คือ ข้าวสันป่าตอง นอกจากทำนาแล้วยังปลูกพืชไร่อื่น ๆ เช่น หอม กระเทียม ถั่ว ยาสูบ เป็นต้น นอกจากปลูกข้าวแล้ว อาชีพทำสวนก็เป็นที่นิยมกัน โดยเฉพาะทำสวนลำไย และลิ้นจี่ นอกจากจะขายให้คนไทยได้รับประทานแล้ว ยังส่งขายต่างประเทศอีกด้วย
ยังมีอาชีพอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวเหนือ คือ การทำเมี่ยง ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยเอาใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักนานได้ที่ เวลาจะเอาใบเมี่ยงมาอม ก็ผสมเกลือเม็ดหรือของกินอย่างอื่นแล้วแต่ชอบ
นอกจากการอมเมี่ยง คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย มวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย” ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ชาวเหนือยังประกอบอาชีพอื่น อาจเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ได้ คือ ผู้หญิงจะทอผ้าเมื่อเสร็จจากการทำนา นอกจากนั้นยังมีการแกะสลัก การทำเครื่องเงิน เครื่องเขิน และการทำเครื่องเหล็ก เป็นต้น


ที่มา: http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm#Head

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

อาหารเหนือ


คนไทยทางภาคเหนือนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลักทั้ง 3 มื้อ ส่วนกับข้าวก็จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ (เนื้อวัว เนื้อควาย หมู ไก่ ปลา) อาหารทะเลมีน้อยมาก และยังมีความเชื่อว่าถ้ากินอาหารทะเลจะผิดผญาด คือ เป็นโรคผิดสำแดง หรือ แสลง ผักต่าง ๆ ถั่วต่าง ๆ ลักษณะการประกอบอาหารก็จะมีทั้งชนิดแห้งและน้ำ เช่น ลาบ ลู่ ไส้อั่ว ชิ้นหมู เอาะ แกงฮังเล แกงอ่อม แกง โฮะ แกงผักกาดจอ เป็นต้น
มีอาหารชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านต้องมีไว้ประจำครัวเรือน เรียกว่า “ถั่วเน่า” คือ ถั่วเหลืองที่นำไปหมักแล้วนำมาทำเป็นแผ่นบาง ๆ แบน และทำเป็นแผ่นกลม ๆ พอนำไปตากแดดแห้งแล้วจะนำมาร้อยเป็นพวงด้วยตอกไม้ไผ่ นำไปเก็บไว้ในครัว ถั่วเน่าจะนำไปผสมลงในแกงหรืออาหารอย่างอื่นได้หลายอย่าง
ที่จริงการใช้ถั่วเหลืองมาประกอบอาหารกินเป็นประจำนั้นถือว่าถูกต้องและเป็นความฉลาดของคนภาคเหนือ เพราะถั่วเหลืองนอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังให้พลังงานสูงด้วย
ยังมีอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ควรกล่าวไว้ คือ ลู่ ซึ่งเป็นประเภทอาหารคาวและยังดิบ ๆ อยู่
ลู่ คือลาบทางภาคเหนือแต่มีเลือดผสมด้วย ลู่ทำจากเนื้อหมู วัว ควาย นำมาสับให้ละเอียด ผสมด้วยเครื่องเทศ มีเครื่องในสัตว์หั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมลงไปด้วยก็ได้ รสจะเปรี้ยว เค็ม เผ็ด รสร้อนแรง นิยมกินกับเหล้า และมีผักต่าง ๆ มาแกล้ม ทางภาคอีสานลักษณะคล้ายกัน เรียกว่า ลาบเลือด แต่มีลักษณะเหลว ไม่ข้นเหมือนลู่ทางภาคเหนือ


ที่มา: http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm#Head

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

วิถีชีวิตคนภาคเหนือ


วิถีชีวิต
คนไทยในอาณาจักรล้านนามีชีวิตและความเป็นอยู่โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา หุบเขา มีพื้นที่ราบจำนวนน้อย คือ ประมาณ1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ชาวบ้านทำนาแบบนาทดน้ำ พื้นที่สูงปลูกข้าวไร่ พื้นที่ที่ราบในแอ่งเขาอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าว และพืชอื่น ๆ ได้ดี คือ พื้นที่ราบแอ่งเชียงใหม่ ลำพูน และแอ่งเชียงราย ส่วนลำปาง แพร่ น่าน ผลิตข้าวได้น้อย ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบผลิตเพื่อให้พออยู่พอกิน การติดต่อค้าขายระหว่างกันก็จะเป็นประเภทวัวต่าง สินค้ามีของป่า เกลือ ผ้า อัญมณี เป็นต้น ส่วนการค้าขายในหมู่บ้านก็จะมี “กาดมั่ว” ใครมีของอะไรก็นำมาวางขายได้
คนไทยภาคเหนือนิยมปลูกบ้านอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน ก็จะมีหมู่บ้านตั้งเป็นระยะ ๆ เรื่อยไปตามแม่น้ำ ลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้ยกสูง มีใต้ถุนโล่ง เป็นที่เก็บของเครื่องมือทำเกษตร และเป็นที่ทำงานหรือพักผ่อนยามว่างได้ด้วย บ้านของชาวเหนือนิยมมุงกระเบื้องหรือชาวบ้านเรียกว่าดินขอ หรือบางครั้งก็มุงด้วยแผ่นไม้สักซึ่งทำเป็นแผ่นเล็ก ๆ แต่โตกว่าแผ่นกระเบื้อง แผ่นไม้สักนี้จะทนแดดทนฝน ถ้าคัดเลือกไม้อย่างดีจะอยู่ได้เกิน 50 ปีขึ้นไปเลยทีเดียว
ถัดจากบ้านก็จะเป็นยุ้งข้าวขนาดใหญ่เล็กตามฐานะ นอกจากนั้นก็จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ เป็ด วัว ควาย ม้า ถัดบ้านก็เป็นสวนผลไม้ซึ่งรวมถึงพืชผักที่ใช้ประกอบอาหารด้วย
ชาวล้านนามีลักษณะเหมือนคนไทยทั่วไป แต่เป็นเชื้อสายไทยยวน หรือโยนก คนล้านนาเองเรียกคนกลุ่มเดียวกันว่า “คนเมือง” ลักษณะเด่นกว่าคนไทยกลุ่มอื่นคือ ผิวค่อนข้างขาว รูปร่างสันทัดไม่สูง ไม่เตี้ยเกินไป ส่วนใหญ่รูปร่างผอมบาง มีภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของตัวเอง หรือที่เข้าใจกันว่า “คำเมือง” ภาษาไทยเหนือมีระบบตัวอักษรบันทึกที่เรียกว่า “อักษรล้านนา” บันทึกเรื่องราวทางพุทธศาสนา คัมภีร์ต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายและความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน อักษรล้านนานี้ดัดแปลงมาจากอักษรมอญเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับอักษรพ่อขุนรามคำแหง หรืออาจเก่ากว่านั้นอีก

ที่มา: http://www.thaifolk.com/doc/northen.htm#Head

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

วัฒนธรรมภาษา

ภาษาเหนือ
ภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากใน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก และ แพร่ และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในอุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์อีกด้วย
นอกจากนี้ คำเมืองเป็นภาษาของคนไท-ยวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยหรืออาณาจักรล้านนา และ อาณาจักรโยนกในอดีต ปัจจุบันกล่มคนไท-ยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครราชสีมาอีกด้วย
คำเมืองมีไวยากรณ์เหมือนกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกัน แต่เดิมได้ใช้ คู่กับ ตั๋วเมือง,ตัวเมือง ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่อักษรมอญใช้เป็นต้นแบบ
ภาษาเหนือหรือภาษาล้านนาเป็นภาษาย่อยหรือภาษาถิ่นของภาษาไทย ใช้กันในดินแดนล้านนา 8 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน
ความแตกต่างของภาษาพูด (คำเมือง) ระหว่างภาษากลางและภาษาเหนือคือ การใช้คำศัพท์ พยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น

คำศัพท์ต่างกัน
(ภาษากลาง - ภาษาเหนือ)

ยี่สิบ - ซาว
ไม่ - บ่
เที่ยว - แอ่ว
ดู - ผ่อ
สวย - งาม
อีก - แหม
นาน - เมิน
สนุก, ดี, เพราะ - ม่วน
อร่อย - ลำ


ที่มา:http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/khwanchai/khwanchai-web2/content/page1.htm

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ชนเผ่าพื้นเมืองภาคเหนือ




ชนเผ่าพื้นเมืองทางภาคเหนือ
ในทางภาคเหนือมีเผ่าต่างๆมากมายกระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ แตกต่างกันไป อาทิ เช่น
แม้ว
แม้วเป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศจีนและประเทศต่าง ๆ ในเอเชียอาคเนย์ คือ เวียตนาม เมียนมาร์ ลาว และประเทศไทย ชาวเขาเผ่าแม้วที่อยู่ในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ แม้วขาว และแม้วเขียว การแบ่งชื่อกลุ่มย่อยดังกล่าว แบ่งตามการเรียกชื่อของเขาเอง กล่าวคือ แม้วขาวเรียกตัวเองว่า "ฮม้ง เต๊อว์" และแม้วเขียวเรียกตนเองว่า "ฮม้ง จั๊ว" การเรียกชื่อกลุ่มย่อยแม้วเขียวในประเทศไทยมีขื่อเรียกโดยคนต่าง ๆ เผ่าว่า "แม้วน้ำเงิน" "แม้วลาย" "แม้วดอก" "แม้วดำ" ซึ่งชื่อเหล่านี้ต่างหมายถึง "แม้วเขียว" ทั้งสิ้น แต่ชื่อที่นิยมใช้เรียกกลุ่มนี้มีมากที่สุดคือ "แม้วน้ำเงิน"

อีก้อ Akha
อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า "อาข่า" คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย
ประวัติความเป็นมาของอีก้อยังไม่สู้กระจ่างนัก อย่างไรก็ตาม จากผลการค้นคว้าศึกษาของนักมานุษยวิทยาหลายท่านได้ให้ข้อเท็จจริงว่า อีก้อมีถิ่นฐานเดิมอยู่ตามบริเวณภูเขาสูงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีอีก้ออยู่มากในมณฑลยูนนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นสิบสองปันนาและไกวเจา แต่เดิมอีก้อมีอาณาจักรอิสระของตนเองอยู่บริเวณต้นแม่น้ำไท้ฮั้วสุย หรือแม่น้ำดอกท้อในแคว้นธิเบต ต่อมาถูกชนชาติอื่นรุกรานจนถอยร่นลงมาทางใต้ เข้าสู่มณฑลยูนนานและไกวเจา เป็นเวลานานหลายพันปีมาแล้ว และเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จึงเข้าครองแผ่นดินใหญ่จีน อีก้อและเผ่าอื่น ๆ อีกหลายเผ่าได้อพยพมาทางตอนใต้อีกแล้วกระจัดกระจายเข้าไปยังแคว้นเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเมียนมาร์ ในแคว้นหัวโขงภาคตะวันตกและแคว้นพงสาลีภาคใต้ของลาว และในจังหวัดเชียงรายตอนเหนือสุดของประเทศไทย


ปาดอง
ปาดอง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า กะเหรี่ยงคอยาว เป็นกะเหรี่ยงกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัฐคะยาประเทศเมียนมาร์ (พม่า) บริเวณที่ราบสูงตอเหนือแม่น้ำสาละวินทิศตะวันออกของเมียนมาร์ติดชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย มีประชากรประมาณ 30,000 คน ปาดองเรียกตนเองว่า แลเคอ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า The long neck, Giraffe-necked women หรือ The Giraffe women ในปี ค.ศ. 1922 Marshall ได้จัดกลุ่มกะเหรี่ยงในประเทศเมียนมาร์ออกเป็น 3 กลุ่ม และได้จัดปาดองไว้ในกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงบเว


ทีมา: http://www.destinythai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=122038&Ntype=2

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ศิลปการแสดงการแสดง


การแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือภาคเหนือ ภาคนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือ นาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนชมเดือน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง)ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้น ดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือนอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)


ที่มา: http://dek-d.com/board/view.php?id=1240924

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

วัฒนธรรมการแต่งกาย


การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน
สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า
ตุ๊กบ่ได้กิน บ่มีไผตามไฟส่องต้อง
ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง ปี้น้องดูแควน
ทุกข์(จน)ไม่มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้) ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมาแต่งตัว (คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • Twitter
  • RSS

ปฎิทิน